หมวด: ข้อมูลอำเภอ

กำลังปรับปรุงข้อมูล
หมายเหตุ ภาพแผนที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ กองแผนและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
กำลังปรับปรุงข้อมูล
หมายเหตุ ภาพแผนที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ กองแผนและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
บัวตองบาน ธารน้ำใส น้ำใจงาม นามขุนยวม
อำเภอขุนยวม เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของกะเหรี่ยงและละว้า ต่อมาชาวไทยใหญ่ ซึ่งอพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำสาละวิน ชื่อ ชานกะเล ซึ่งเป็นบุตรเขยของพะกะหม่องที่บ้านโป่งหมู (ปางหมู) ได้ชักชวนชาวบ้านที่อยู่กระจัดกระจายมารวมกันเป็นหมู่บ้าน และตั้งชื่อว่า “บ้านขุนยม” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “บ้านขุนยวม” บ้านขุนยวมในสมัยนั้น อยู่ในความปกครองของพระเจ้าอินทร์วิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ต่อมาเจ้าเมืองเชียงใหม่เห็นว่า ชานกะเล เป็นผู้มีความขยันขันแข็งและมีความซื่อสัตย์ จึงได้แต่งตั้งชานกะเลเป็นผู้ปกครองเมืองขุนยวม
อำเภอขุนยวม ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน ระยะทาง 67 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 1,033 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 2,365 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,478,125 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าเขา มีพี้นที่ราบระหว่างภูเขา ประมาณ 260 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 11 ของพื้นที่อำเภอ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ลักษณะอากาศค่อนข้างจะเย็นสบายตลอดปี
อำเภอขุนยวม ทุกหมู่ ตำบล สามารถเดินทางเข้าไปได้ตลอดทั้งปี แม้ว่าเส้นทางหลายหมู่บ้านยังเป็นทางดินบนภูเขาอาจมีปัญหาบ้างในช่วงฤดูฝน ถนนสายหลัก ได้แก่
มีบริษัทเอกชนให้บริการเดินรถ (รถผ่าน) จำนวน 2 ราย ได้แก่ บริษัทเปรมประชาขนส่ง จำกัด โดยใช้รถเมล์ธรรมดา และรถเมล์ปรับอากาศ (เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน) และบริษัท สมบัติทัวร์ จำกัด โดยใช้รถโดยสารปรับอากาศ (กรุงเทพ-แม่ฮ่องสอน)
สถานีบริการน้ำมัน มี 1 แห่ง
ประชากร
ขุนยวมมีทั้งหมด 4 ชนเผ่า จะอยู่เป็นกลุ่มก้อน ดังนี้
การศึกษา
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 34 (เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน) จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนขุนยวมวิทยา
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 จำนวน 30 แห่ง เป็นโรงเรียนประถมศึกษา 26 แห่ง และโรงเรียนขยายโอกาส 1 แห่ง
โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเทศบาลตำบลขุนยวม
ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 1 แห่ง สังกัดกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 336
อื่น ๆ ได้แก่ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประจำอำเภอ จำนวน 1 แห่ง ห้องสมุดประจำอำเภอ จำนวน 1 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 20 แห่ง และที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 43 แห่ง
การสาธารณสุข
มีสถานบริการสาธารณสุขที่เป็นโรงพยาบาลของรัฐ 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลขุนยวม เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 10 แห่ง สถานบริการสาธารณสุขชุมชน (สสช.) 6 แห่ง หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง 1 แห่ง และมาลาเรียคลินิก 2 แห่ง
การประกอบอาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ประมาณร้อยละ 80.6 ของประชากรทั้งหมด ส่วนอาชีพอื่นๆ มีเพียงเล็กน้อย เช่น ค้าขาย รับจ้าง เป็นต้น
การเกษตรกรรม
การเพาะปลูก พืชหลักที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง งาขาว กะหล่ำปลี มะเขือเทศ กระเทียม และหอมแดง
การเขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 6 ตำบล 43 หมู่บ้าน
ตำบล | ขุนยวม | แม่เงา | เมืองปอน | แม่ยวมน้อย | แม่กิ๊ | แม่อูคอ |
---|---|---|---|---|---|---|
หมู่ที่ | ||||||
1 | ขุนยวม | ต่อแพ | เมืองปอน | หัวปอน | แม่กิ๊ | คำสุข |
2 | ขุนยวม | หัวเงา | เมืองปอน | แม่โกปี่ | ห้วยส้าน | หัวแม่สุริน |
3 | แม่สุริน | ประตูเมือง | หางปอน | หว่าโน | พะโท | ปางตอง |
4 | แม่สะเป่ | ห้วยต้นนุ่น | ป่าฝาง | แม่ออ | ห้วยโป่งเลา | พัฒนา |
5 | ห้วยฟาน | ห้วยนา | แม่ซอ | แม่แจ๊ะ | เปียงหลวง | แม่อูคอหลวง |
6 | แม่สะแป่เหนือ | สวนอ้อย | แม่ลาก๊ะ | แม่หาด | แม่อูคอ | |
7 | นาหัวแหลม | ท่าหินส้ม | ห้วยมะบวบ | |||
8 | หลวง | มะหินหลวง | แม่ลาก๊ะ | |||
9 | หนองแห้ง | |||||
10 | แม่โข่จู |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หน่วยงานราชการ/หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ/หน่วยงานสำคัญในพื้นที่
หน่วยงานราชการบริหารส่วนภูมิภาคระดับอำเภอ เช่น ที่ทำการปกครองอำเภอขุนยวม สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอขุนยวม สำนักงานปศุสัตว์อำเภอขุนยวม สำนักงานประมงอำเภอขุนยวม สำนักงานเกษตรอำเภอขุนยวม สำนักงานสัสดีอำเภอขุนยวม สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอขุนยวม ศูนย์กีฬาและการท่องเที่ยวและนันทนาการอำเภอขุนยวม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุนยวม โรงพยาบาลขุนยวม เป็นต้น
หน่วยงานในสังกัดหน่วยราชการบริหารส่วนกลาง เช่น สถานีตำรวจภูธรขุนยวม สถานีตำรวจภูธรประตูเมือง โรงเรียนขุนยวมวิทยา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอขุนยวม หน่วยจัดการศึกษาอำเภอขุนยวม วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 1.1.6 ขุนยวม เขตพัฒนาสังคมและสวัสดิการบนพื้นที่สูงหัวปอน หมวดทางหลวงขุนยวม หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ มส.6 (ขุนยวม) เป็นต้น
หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น ที่ทำการไปรษณีย์ขุนยวม (ปณ.58140) เป็นต้น
สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาขุนยวม ธ.ก.ส. สาขาขุนยวม เป็นต้น
หมายเหตุ ภาพแผนที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ กองแผนและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ถิ่นผีแมน แดนร้อยถ้ำ งามล้ำขุนเขา รวมเผ่าชาวดอย
อำเภอปางมะผ้าเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ในถ้ำต่างๆ ในพื้นที่อำเภอปางมะผ้ากว่า 70 ถ้ำ ค้นพบโลงศพ โบราณที่เรียกว่า “โลงผีแมน” จำนวนหลายร้อยโลง ตลอดจนข้าวของเครื่องใช้ เช่น หม้อดินเผา ลายเชือกทาบ เครื่องมือขวานหิน เครื่องประดับที่ทำด้วยสัมฤทธิ์ และลูกปัดต่างๆ เป็นต้น ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทหารญี่ปุ่นได้ตัดถนนจากเมืองปายไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อเข้าสู่ประเทศเมียนมา ต่อมาพ่อค้าประชาชนได้ใช้เส้นทางนี้ในการติดต่อไปมาโดยมีจุดพักค้างแรมบริเวณที่ห้วยแม่อูมอง ไหลลงน้ำลางเรียกว่า “สบป่อง” และบริเวณที่พักค้างแรมเรียกว่า “ปางมะผ้า” เป็นภาษาของชาวไทยใหญ่เพราะจุดที่พักแรมนี้สามารถหามะนาวมาปรุงอาหารได้ “ปาง” แปลว่าที่พักแรม “มะผ้า” หรือ “หมากผ้า” แปลว่ามะนาว “ปางมะผ้า” จึงหมายถึงบริเวณที่พักแรมที่มีต้นมะนาวอยู่เป็นจำนวนมาก ในรัศมี 20 กิโลเมตร รอบบ้านสบป่องหรือปางมะผ้า เป็นภูเขาสลับซับซ้อนมี ชาวไต (ไทใหญ่) มูเซอ ลีซอ ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นหย่อมๆ และแทบจะตัดขาดจากโลกภายนอกโดยสิ้นเชิง จนปี พ.ศ. 2520 ทางราชการได้ตัดถนนให้ดีขึ้น บรรดาชาวพื้นราบ ชาวเขา จาก ต่างอำเภอ/จังหวัดและชนกลุ่มน้อยผู้หลบหนีเข้าเมืองจากประเทศเมียนมา ได้อพยพเข้ามาตั้งรกรากทำมาหากินมากขึ้นตามลำดับ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้แบ่งแยกเขตการปกครองตั้งกิ่งอำเภอปางมะผ้า แยกการปกครองจากอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เมื่อ พ.ศ. 2530 และได้ยกฐานะเป็นอำเภอปางมะผ้า เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539
อำเภอปางมะผ้า ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอนระยะทาง 67 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1095 และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 876 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 1,094 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่เกือบทั้งหมดอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า มีที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ จำนวน 50 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
แนวพรมแดนระหว่างประเทศไทย กับ ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ระยะทาง 75 กิโลเมตร
อำเภอปางมะผ้ามี ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขาสูงชันสลับซับซ้อนกันตลอด ประมาณ ร้อยละ 95 ของพื้นที่อำเภอ หรือประมาณ 1,039 ตารางกิโลเมตร ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ ส่วนที่เหลือเป็นที่ราบระหว่างหุบเขา ซึ่งจะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านต่าง ๆ ประมาณร้อยละ 5 ของพื้นที่อำเภอ หรือประมาณ 55 ตารางกิโลเมตร
มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่
การคมนาคมทางบก
ถนนสายหลักในการเดินทางเข้า-ออก อำเภอปางมะผ้า ได้แก่
มีจุดพักรถ มีจำนวน 1 แห่ง มีบริษัทเอกชนให้บริการ จำนวน 1 ราย ได้แก่ บริษัทเปรมประชาขนส่ง จำกัด โดยใช้รถตู้บริการร่วม
สถานีบริการน้ำมัน มี 1 แห่ง
ประชากร
ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขา ประกอบด้วย ชนเผ่ามูเซอ ไทยใหญ่ ลีซู กระเหรี่ยง ม้ง ปะโอ ลั๊วะ และคนพื้นเมือง
การนับถือศาสนา
มีการนับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ 80 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 20 มีสถาบัน/องค์กรทางศาสนา ได้แก่ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา จำนวน 7 แห่ง ที่พักสงฆ์ จำนวน 20 แห่ง โบสถ์คริสต์ จำนวน 6 แห่ง และมัสยิด จำนวน 1 แห่ง
การศึกษา
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 จำนวน 22 แห่ง เป็นโรงเรียนประถมศึกษา 13 แห่ง โรงเรียนขยายโอกาส 8 แห่ง และโรงเรียนสาขา 1 แห่ง
โรงเรียนมัธยมศึกษา มี 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนปางมะผ้าพิทยาสรรพ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 34 (เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน) และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 34 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 2 แห่ง และศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 2 แห่ง สังกัดกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 336
อื่น ๆ เช่น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประจำอำเภอ 1 แห่ง ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนประจำตำบล 5 แห่ง ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง 16 แห่ง เป็นต้น
การสาธารณสุข
มีสถานบริการสาธารณสุขที่เป็นโรงพยาบาลของรัฐ 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลปางมะผ้า เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 5 แห่ง สถานบริการสาธารณสุขชุมชน (สสช.) 5 แห่ง หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง 1 แห่ง และมาลาเรียคลินิก 1 แห่ง
การเกษตรกรรม
การประกอบอาชีพของประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอปางมะผ้า เป็นภาคเกษตรกรรม มีพื้นที่การเกษตร ประมาณ 112.87 ตารางกิโลเมตร หรือ 70,543 ไร่ ผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วแดงหลวง ถั่วลิสง กระเทียม ขิง เป็นต้น สำหรับการปศุสัตว์ มีสัตว์เลี้ยงที่สำคัญ ได้แก่ ไก่ สุกร โคเนื้อ กระบือ และเป็ด
การค้าชายแดน
อำเภอปางมะผ้ามีช่องทางชายแดนอาศัยเส้นทางเดินในภูมิประเทศ โดยการเดินเท้า หรือรถจักรยานยนต์ในฤดูแล้ง มี 6 ช่องทางหลัก โดยมีราษฎรของหมู่บ้านใกล้ ๆ ชายแดนใช้ผ่านเพื่อการค้าขายของใช้จำเป็น และการติดต่อในกลุ่มเครือญาติพี่น้องเท่านั้น
การเขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 4 ตำบล 38 หมู่บ้าน
ตำบล | สบป่อง | ปางมะผ้า | ถ้ำลอด | นาปู่ป้อม |
---|---|---|---|---|
หมู่ที่ | ||||
1 | สบป่อง | แม่ละนา | ถ้ำลอด | นาปู่ป้อม |
2 | น้ำริน | ปางคาม | แสนคำลือ | ปางตอง |
3 | ไร่ | ไม้ฮุง | วนาหลวง | ปางบอน |
4 | หนองผาจ้ำ | จ่าโบ่ | ผามอน | น้ำฮูผาเสื่อ |
5 | แม่อูมอง | ยาป่าแหน | เมืองแพม | ปุงยาม |
6 | กึ้ดสามสิบ | ผาแดง | ห้วยแห้ง | โท้งนา-ดอยคู |
7 | หนองตอง | ไม้ลัน | แอลา | โท้งสาแล |
8 | แม่หมูลีซอ | ห้วยเฮี้ยะ | ซอแบะ | |
9 | ลุกข้าวหลาม | โท้งหลวง | ||
10 | ผาเผือก | โท้งกองเต้า | ||
11 | บ่อไคร้ | ป่าโหล | ||
12 | ปางคอง |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนตำบล 4 แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลสบป่อง องค์การบริหารส่วนตำบลปางมะผ้า องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำลอด และองค์การบริหารส่วนตำบลนาปู่ป้อม
หน่วยงานราชการ/หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ/หน่วยงานสำคัญในพื้นที่
หมายเหตุ ภาพแผนที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ กองแผนและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
สุดแดนสาละวิน แดนดินพริกกะเหรี่ยง ลือเลี่องครูบาผาผ่า งามตาแม่น้ำเงา ขุนเขาธรรมชาติ ใจสะอาดคนสบเมย
สบเมย มาจากคำว่า “สบ” หมายถึง การพบกัน การบรรจบ ปลายสุดแม่น้ำหรือปากน้ำ และคำว่า “เมย” หมายถึง ชื่อแม่น้ำเมย ที่ใช้แบ่งอาณาเขตระหว่างประเทศไทยในจังหวัดตากและจังหวัดแม่ฮ่องสอน บางส่วนกับสหภาพเมียนมา ซึ่งไหลมาบรรจบกับแม่น้ำสาละวิน ที่บ้านสบเมยหมู่ที่ 4 ตำบลแม่สามแลบ ก่อนที่จะไหลเข้าสู่ประเทศสหภาพเมียนมา
อำเภอสบเมย แต่เดิมเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอแม่สะเรียง ดังนั้นประวัติความเป็นมาต่างๆ จึงเกี่ยวโยงกับอำเภอแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียงเดิมชื่อ เมืองยวม หรือยวมใต้ เริ่มปรากฏในแผนที่ราวปี พ.ศ.1998 จากหลักฐานพงศาวดารโยนก เมืองยวมใต้มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน ตั้งแต่ พ.ศ.1977 เรียกชื่อว่าเมืองยวมตะวันตกของเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2332 แม่สะเรียงเกือบจะเป็นเมืองร้างซึ่งในใบลานหนังสือยวม ลานนากล่าวว่า “ขณะนั้นมีบ้านอยู่ประมาณ 200 หลังคาเรือน ใน 8 หมู่บ้าน เฉพาะในตัวเมืองมีคนอยู่ประมาณ 10 – 12 ครอบครัวเท่านั้น เนื่องจากถูกพวกยางแดง(กะเหรี่ยงแดง) รบกวน ปล้มสดมภ์อยู่เป็นประจำ ทางการในสมัยนั้นต้องนำลูกวัวไปแลกกับตัวประกัน คือ วัว 7 ตัว และผู้ชายหนึ่งคน และใช้วัว 8 – 10 ตัว แลกกับผู้หญิงหนึ่งคน (สินค้าในสมัยนั้นมีเพียง วัวดำ ลูกน้ำ ดีบุก ครั่ง)
พ.ศ.2443 ทางราชการเปลี่ยนฐานะจากเมือง เป็นบริเวณเชียงใหม่ตะวันตก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2448 ยกฐานะเป็นอำเภอเรียกชื่อว่า “อำเภอเมืองยวม” โดยอาศัยชื่อลำน้ำยวม ต่อมาเปลี่ยนเป็น “อำเภอยวม” จนถึงปี พ.ศ.2467 ทางราชการเห็นว่าชื่อไปพ้องกับอำเภอขุนยวม จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอแม่สะเรียง” ตามชื่อของแม่น้ำที่ไหลผ่านตัวอำเภอ คือแม่น้ำแม่สะเรียง
วันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2527 ได้แยกเขตการปกครองของอำเภอแม่สะเรียง เป็นกิ่งอำเภอสบเมย ซึ่งตั้งตามชื่อตำบลสบเมยและแม่น้ำที่บรรจบแม่น้ำสาละวินที่บ้านสบเมย ประกอบด้วย 3 ตำบล คือ ตำบลสบเมย ตำบลแม่คะตวน และตำบลกองก๋อย มีพื้นที่ 1,177 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 735,625 ไร่ (ที่มา:ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องแบ่งท้องที่ อำเภอแม่สะเรียง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอสบเมย ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2527) ต่อมาได้รับอนุมัติให้ตั้งตำบลขึ้นอีก 3 ตำบลคือ ตำบลแม่สวด (แยกจากตำบลแม่คะตวน เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2527) ตำบลแม่สามแลบ (แยกจากตำบลสบเมย เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2531) และตำบลป่าโปง (แยกจากตำบลกองก๋อย เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2531) ตามลำดับ
วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2536 ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกสา ยกฐานะกิ่งอำเภอสบเมย เป็นอำเภอสบเมย มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2536 เป็นต้นไป
อำเภอสบเมย ตั้งอยู่ทิศใต้สุดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยห่างจากศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นระยะทาง 192 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 จากอำเภอสบเมยถึงอำเภอแม่สะเรียง ระยะทาง 25 กิโลเมตร และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 จากอำเภอแม่สะเรียงถึงอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ระยะทาง 167 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 784 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1,177 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นป่าภูเขาสูงสลับซับซ้อน คิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 90 หรือประมาณ 1,059 ตารางกิโลเมตรและมีพื้นที่ราบที่สำคัญ ได้แก่ พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำยวม ที่ราบลุ่มแม่น้ำเล็ก ๆ รวมทั้งที่ราบเชิงเขา คิดเป็นร้อยละ 10 หรือประมาณ 118 ตารางกิโลเมตร ลักษณะพื้นดินในเขตที่ราบลุ่มส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวและดินปนทราย พื้นที่อำเภอสบเมยส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนถึง 1,162.90 ตารางกิโลเมตร หรือ 726,813 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 98% ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนสภาพทั่วไปเป็นป่าเบญจพรรณ แม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านและแบ่งแยกอาณาเขต ได้แก่
ภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู
ถนนสายหลักในการเดินทางเข้า-ออก อำเภอสบเมย ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 จากอำเภอสบเมยไปอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ทิศเหนือ) และจากอำเภอสบเมยไปอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก (ทิศใต้)
ประชากร
มีด้วยกัน 2 เผ่าใหญ่ ๆ คือ ชาวไทยพื้นราบหรือคนเมือง และชาวไทยภูเขามีจำนวนร้อยละ 60 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่ากะเหรี่ยง ประมาณร้อยละ 90 และอื่น ๆ เช่น แขกโรฮิงยา คนไทยใหญ่ เป็นต้น
การศึกษา
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 จำนวน 57 แห่ง เป็นโรงเรียนประถมศึกษา 42 แห่ง โรงเรียนขยายโอกาส 8 แห่ง และโรงเรียนสาขา 7 แห่ง
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 34 (เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน) มี 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสบเมยวิทยาคม และโรงเรียนเฉลิมรัชวิทยาคม
ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 2 แห่ง สังกัดกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 337
อื่น ๆ เช่น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประจำอำเภอ 1 แห่ง เป็นต้น
การสาธารณสุข
มีสถานบริการสาธารณสุขที่เป็นโรงพยาบาลของรัฐ 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสบเมย เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 8 แห่ง สถานบริการสาธารณสุขชุมชน (สสช.) 11 แห่ง หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง 2 แห่ง มาลาเรียคลินิก 3 แห่ง และศูนย์มาลาเรียชุมชน 8 แห่ง สาเหตุการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ อุจจาระร่วง, ไข้ไม่ทราบสาเหตุ, ตาแดง, ไข้เลือดออก อาหารเป็นพิษ และสาเหตุการป่วยของโรคตามกลุ่มโรค 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคระบบหายใจ, โรคระบบกล้ามเนื้อ รวมโครงร่าง และเนื้อยึดเสริม, โรคระบบย่อยอาหาร รวมโรคในช่องปาก
การประกอบอาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวนาปี นอกฤดูทำนาเกษตรกรจะปลูกกระเทียม ถั่วเหลืองและถั่วลิสง พืชชนิดอื่นบ้างเล็กน้อยเพื่อจำหน่ายหรือบริโภคภายในครัวเรือน
การค้าชายแดน
มีช่องทางค้าขายตามกฎหมายศุลกากรคือจุดผ่อนปรนชั่วคราวบ้านแม่สามแลบ โดยมีการค้าขายกับประชาชนพม่า การค้าชายแดนเป็นในรูปแบบค้าขายกันระหว่างชายแดนเท่านั้น สินค้านำเข้าที่สำคัญคือ โค-กระบือ มีชีวิต ผู้นำมาจำหน่ายคือ ชาวกะเหรี่ยง และชาวไทยใหญ่สัญชาติพม่า โดยมีพ่อค้าไทยเข้าไปรับซื้อแล้วนำมาผ่านพิธีการศุลกากร และส่งต่อไปยังจังหวัดอื่น ๆ แต่เนื่องจากจุดผ่อนปรนการค้าขายช่องทางบ้านแม่สามแลบ ใช้เส้นทางแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำสายหลักในการขนถ่ายสินค้าของอำเภอสบเมย ประกอบกับเส้นทางการคมนาคมค่อนข้างลำบากและอยู่ไกลจากแหล่งชุมชน ทำให้การขนย้ายสินค้ามีความลำบากต้นทุนของสินค้าสูง
การเขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 6 ตำบล 58 หมู่บ้าน
ตำบล | สบเมย | แม่คะตวน | กองก๋อย | แม่สวด | ป่าโปง | แม่สามแลบ |
---|---|---|---|---|---|---|
หมู่ที่ | ||||||
1 | เลโค๊ะ | ผาผ่า | กองก๋อย | แม่สวด | ป่าโป่ง | แม่สามแลบ |
2 | แม่คะตวน | ไหม้ | ผาเยอร์ | ห้วยม่วง | กองแปเหนือ | แม่ตอละ |
3 | ขุนแม่คะตวน | แม่เกาะ | แม่แพหลวง | แม่เลาะ | ต้นงิ้วเหนือ | สิวาเดอ |
4 | ห้วยกองมูล | แม่ออกใต้ | ห้วยเกี๋ยง | แม่หลุย | ห้วยหมูเหนือ | สบเมย |
5 | แม่ทะลุ | คอนผึ้ง | แม่แพน้อย | อุมโล๊ะเหนือ | ห้วยเหี๊ยะ | บุญเลอ |
6 | ซื่อหมื้อ | แม่ออกกลาง | ห้วยวอก | แม่แฮด | แม่ลายจอลา | ปู่ทา |
7 | แม่ลามาหลวง | แพะหลวง | ท่าฝาย | แม่หาด | ห้วยกุ้ง | แม่ลามาน้อย |
8 | ทียาเพอ | อุมดาเหนือ | ทะโลงเหนือ | แม่สวดใหม่ | ห้วยกระต่าย | |
9 | น้ำออกฮู | กองต๊อก | นาดอย | กอมูเดอ | ||
10 | ห้วยทีชะ | สบโขง | ห้วยแห้ง | |||
11 | ทีฮือลือ | แม่แพใหญ่ | ||||
12 | กลอโค๊ะ | อุมโล๊ะเหนือ |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนตำบล 6 แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลสบเมย องค์การบริหารส่วนตำบลแม่คะตวน องค์การบริหารส่วนตำบลกองก๋อย องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สวด องค์การบริหารส่วนตำบลป่าโป่ง และองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สามแลบ
หน่วยงานราชการ/หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ/หน่วยงานสำคัญในพื้นที่
หน่วยงานราชการบริหารส่วนภูมิภาคระดับอำเภอ เช่น ที่ทำการปกครองอำเภอสบเมย สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสบเมย สำนักงานปศุสัตว์อำเภอสบเมย สำนักงานเกษตรอำเภอสบเมย สำนักงานสัสดีอำเภอสบเมย สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอสบเมย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสบเมย โรงพยาบาลสบเมย เป็นต้น
หน่วยงานในสังกัดหน่วยราชการบริหารส่วนกลาง เช่น สถานีตำรวจภูธรสบเมย สถานีตำรวจภูธรกองก๋อย โรงเรียนสบเมยวิทยาคม โรงเรียนเฉลิมรัชวิทยาคม ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสบเมย หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 36 บ้านคอนผึ้ง (นพค.36) หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 1.1.1 แม่สามแลย หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 1.1.2 สบเมย อุทยานแห่งชาติแม่เงา (เตรียมการ) หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ มส.17 (แม่เกาะ) หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ มส.27 (แม่สามแลบ) หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ มส.29 (กองก๋อย) เป็นต้น
หมายเหตุ ภาพแผนที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ กองแผนและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
แม่ลาน้อยเลิศล้ำ ถ้ำแก้วงามวิจิตร ผลผลิตถั่วเหลือง ลื่อเลื่องวัดแม่ปาง เมืองสร้างคนดี ประเพณีเขาวงกต มรดกพระเพชร
เมื่อปี พ.ศ. 2510 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศรวมเขตตำบลแม่ลาหลวงของอำเภอขุนยวม กับตำบลแม่ลาน้อย ของอำเภอแม่สะเรียง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่ลาน้อย ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 จึงได้รับอนุมัติให้แยกตำบลแม่ลาหลวงออกเป็นตำบลแม่โถและแยกตำบลแม่ลาน้อยออกเป็นตำบลท่าผาปุ้ม รวม 4 ตำบล และเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2518 จึงได้มีพระราชกฤษฎีกา ยกฐานะกิ่งอำเภอแม่ลาน้อย เป็นอำเภอแม่ลาน้อย ต่อจากนั้นมาก็ได้มีการจัดตั้งตำบลเพิ่มขึ้นอีก 2 ตำบล คือ ตำบลห้วยห้อมและตำบลแม่นาจาง เมื่อปี พ.ศ.2524 และ 2526 ตามลำดับ และต่อมาในปี พ.ศ.2534 ก็ได้แยกตำบลแม่ลาหลวงออกเป็นอีก 1 ตำบล คือ ตำบลสันติคีรี และเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2536 ได้รับอนุมัติให้แยกตำบลแม่นาจางออกเป็นตำบลขุนแม่ลาน้อย รวมมีพื้นที่ทั้งหมด 8 ตำบล และปัจจุบันจัดตั้งเป็นอำเภอชั้นที่ 4
อำเภอแม่ลาน้อย ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอนระยะทาง 134 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1,337 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
อำเภอแม่ลาน้อยมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1,337 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นพื้นที่ป่าและภูเขาสูงร้อยละ 91 และเป็นพื้นที่ราบเชิงเขา ร้อยละ 9 ของพื้นที่ สำหรับราษฎรใช้ในการเกษตรและตั้งบ้านเรือน รวมเป็นพื้นที่ประมาณ 120 ตารางกิโลเมตร หรือ 18,500 ไร่
ถนนสายหลักในการเดินทางเข้า-ออก อำเภอแม่ลาน้อย ได้แก่ ถนนสายหลักในการเดินทางเข้า-ออก อำเภอสบเมย ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 จากอำเภอแม่ลาน้อยไปอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ทิศเหนือ) และจากอำเภอแม่ลาน้อยไปอำเภอแม่สะเรียง
มีบริษัทเอกชนให้บริการเดินรถ (รถผ่าน) จำนวน 2 ราย ได้แก่ บริษัทเปรมประชาขนส่ง จำกัด โดยใช้รถเมล์ธรรมดา และรถเมล์ปรับอากาศ (เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน) และบริษัท สมบัติทัวร์ จำกัด โดยใช้รถโดยสารปรับอากาศ (กรุงเทพ-แม่ฮ่องสอน)
สถานีบริการน้ำมัน มี 1 แห่ง
ประชากร
ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขา ประมาณร้อยละ 76.15 ของประชากรทั้งหมด โดยชนเผ่ากะเหรี่ยง มีประชากรมากที่สุด คือประมาณร้อยละ 60 รองลงมาได้แก่ชนลั๊วะ ร้อยละ 13.58 และชนเผ่าม้ง ร้อยละ 0.8 และชาวไทยใหญ่ ประมาณร้อยละ 12.17 และชาวไทย (ไทยล้านนา) ประมาณร้อยละ 11.68
การนับถือศาสนา
มีการนับถือศาสนาคริส คิดเป็นร้อยละ 60 รองลงมาคือ ศาสนาพุทธ ร้อยละ 30 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 10
การศึกษา
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 จำนวน 52 แห่ง เป็นโรงเรียนประถมศึกษา 40 แห่ง โรงเรียนขยายโอกาส 11 แห่ง และโรงเรียนสาขา 1 แห่ง
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 34 (เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน) มี 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์
โรงเรียนในสังกัดเทศบาลตำบลแม่ลาน้อย จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลเทศบาลแม่ลาน้อย เปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษา โรงเรียนร่มฉัตรวิทยา (เทศบาล 2) เปิดสอนระดับประถมศึกษา และโรงเรียนไท่จง (เทศบาล 3) เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 2 แห่ง สังกัดกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 337
อื่น ๆ เช่น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประจำอำเภอ 1 แห่ง เป็นต้น
การสาธารณสุข
มีสถานบริการสาธารณสุขที่เป็นโรงพยาบาลของรัฐ 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลแม่ลาน้อย เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 11 แห่ง สถานบริการสาธารณสุขชุมชน (สสช.) 11 แห่ง หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง 1 แห่ง และมาลาเรียคลินิก 2 แห่ง
การประกอบอาชีพ
ประชากรอำเภอแม่ลาน้อยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 80 รองลงมามีอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 12 อาชีพค้าขาย ร้อยละ 5 และอาชีพอื่นๆ ร้อยละ 3
การเขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 8 ตำบล 69 หมู่บ้าน
ตำบล | แม่ลาน้อย | แม่ลาหลวง | ท่าผาปุ้ม | แม่โถ | ห้วยห้อม | แม่นาจาง | สันติคีรี | ขุนแม่ลาน้อย |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
หมู่ที่ | ||||||||
1 | แม่ลาน้อย | แม่ลามาหลวง | แม่สะกึ๊ด | แม่โถ | ห้วยห้อม | แม่นาจาง | แม่ปาง | ขุนแม่ลาน้อย |
2 | ป่าหมาก | แม่สุ | ห้วยผึ้ง | ผาแดงหลวง | ห้วยห้า | แม่กองแป | แม่แป | ส้มป่อย |
3 | แม่สะปึ๋งเหนือ | ห้วยกองเป๊าะ | ห้วยหมากหนุน | แม่โถกลาง | สาม | แม่ขีด | แม่ฮุ | แม่ลาป่าแก่ |
4 | ห้วยตึง | ห้วยกู่ป๊ะ | ท่าผาปุ้ม | แม่โถใต้ | ตูน | หนองม่วน | ห้วยมะกอก | ห้วยฟักทอง |
5 | วังคัน | สันติสุข | แม่เตี๋ย | แม่อุมพาย | ดง | กอกหลวง | หัวดอย | แม่ลาผาไหว |
6 | แม่แลบ | ห้วยไก่ป่า | แม่สะกั๊วะ | แม่จอ | ละอุบ | แม่สะแมง | กะริคี | |
7 | แม่งะ | สันติพัฒนา | แม่กวางใต้ | ห้วยผึ้งใหม่ | ละอางเหนือ | แม่นาจางใต้ | หัวลา | |
8 | ท่าสองแคว | ทุ่งป่าคา | ใหม่พัฒนา | ห้วยไม้ซาง | ดงใหม่ | หัวตาด | ||
9 | ทุ่งสารภี | สุขใจ | ดูลาเปอ | |||||
10 | ทุ่งรวงทอง | |||||||
11 | แม่ละมอง | |||||||
12 | แม่ลางิ้ว | |||||||
13 | พระบาทห้วยผึ้ง | |||||||
14 | ห้วยริน | |||||||
15 | แม่สะปึ๋งใต้ |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำแนกเป็น
หน่วยงานราชการ/หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ/หน่วยงานสำคัญในพื้นที่
หมายเหตุ ภาพแผนที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ กองแผนและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ลำปายสายธาร นมัสการหลวงพ่ออุ่นเมือง ลือเลื่องกระเทียมพันธุ์ดี ป่าเขียวขจีรอบทิศ วิถีชีวิตสงบร่มเย็น
จากตำนานที่มีผู้บันทึกเป็นหนังสือพื้นเมือง และพิจารณาจากข้อเท็จจริงต่าง ๆ ของอำเภอปาย สันนิษฐานว่าคงจะตั้งบ้านเมืองมาประมาณสองพันกว่าปีมาแล้ว ซึ่งในสมัยนั้นมีการปกครองลักษณะเจ้าผู้ครองนคร เมื่อประเทศไทยได้ประกาศแบ่งเขตการปกครองในปี พ.ศ. 2443 ได้ประกาศให้เมืองปาย ขุนยวม เมืองฮ่องสอน ไปขึ้นกับมณฑลพายัพ ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 ทางการได้แต่งตั้งให้หลวงเจริญเขตเขลางค์นคร (สอน สุขุมินทร์) มาเป็นนายอำเภอปายคนแรก
จากหลักฐานที่ปรากฏเป็นโบราณวัตถุต่างๆ ตามวัดร้าง กำแพงวัด ซากเจดีย์ปรักหักพัง พระพุทธรูปที่ก่อด้วยอิฐถือปูน ก้อนอิฐเก่าแผ่นใหญ่และหนามาก สันนิษฐานได้ว่าเป็นที่อยู่ของพวกลั๊วะ พวกขอม และลำธารลำห้วยหลายแห่งเป็นที่ที่มีช่างป่าจำนวนมาก ต่อมามีพวกไทยใหญ่พากันอพยพมาจากเมืองปั่น เมืองพาย เมืองแสนหวี เชียงของ เชียงตุง หมอกใหม่ ลางเครือ ก้างยาม พม่า และมอญ มาด้วยบ้าง เมื่อมาถึงบ้านดอย (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งบ้านเวียงเหนือ ตำบลเวียงเหนือ) จึงตกลงใจกันอยู่ที่นั้น และยก “ขุนส่างปาย” ขึ้นเป็นเจ้าเมือง จากนั้นช่วยกันขุดคูรอบเวียงเพื่อป้องกันสัตว์มารบกวน มีประตู 3 ด้าน ทางทิศใต้เรียกว่า “ประตูดา” เป็นประตูที่นำศพออกไปป่าช้า แล้วสร้างวัดในบ้านดอนทางทิศตะวันออก
จากหลักฐานที่ปรากฏบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ในสมัยพระเจ้ามโหตรประเทศราชาธิบดี เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ส่งเจ้าแก้วเมืองมาออกสำรวจชายแดนและคล้องช้างไว้ใช้ในราชการ เมื่อมาถึงเมืองปายได้แนะนำขุนส่างปายย้ายเมืองมาตั้งอยู่ทางฝั่งขวาหรือทางทิศตะวันตกของแม่น้ำปาย เพราะเป็นที่ราบกว้างขวางและทำเลดี เหมาะแก่การเพาะปลูก จะวางผังเมืองก็สวย เรียกเวียงใหม่นี้ว่า “เวียงใต้” (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งตำบลเวียงใต้) เวียงเก่าเรียกว่า “เวียงเหนือ” ต่อมาในปี พ.ศ. 2427 ได้มีการปรับปรุงบ้านเมืองปาย ตำบลเวียงใต้ จัดทำถนนหนทางขนาดใหญ่ 4 สาย มีรูปร่างเป็นตาราง มีตรอกมีซอยสวยงามมาก แล้วตั้งหอเทียบเท่าจวนเรียกว่า “หอเจ้าฟ้า” (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอปาย) เมื่อข่าวการสร้างเมืองใหม่แพร่ออกไป พวกไทยใหญ่ที่อพยพไปอยู่ที่บ้านเมืองแพร่ น่าน เชียงใหม่ก็พากันกลับมาหาพี่น้อง เมื่อมีคนอพยพมาอยู่กันมากขึ้น จึงขยายออกเป็นตำบลหมู่บ้านไปเรื่อย ๆ
คำว่า “ปาย” มีที่มาได้ 3 ทาง คือ เป็นชื่อเรียกเพี้ยนไปจากคำว่า “ป้าย” ซึ่งเป็นคำไทยใหญ่ที่ใช้เรียกตัวเองที่อพยพมาจากพม่า มาตั้งหลักแหล่งถิ่นฐานที่ลุ่มแม่น้ำแห่งนี้ นานเข้าเลยเรียกเพี้ยนมาเป็น “ปาย” อีกทางหนึ่ง สันนิษฐานว่าเพื่อเป็นเกียรติแก่ขุนส่างปาย หัวหน้าใหญ่ซึ่งเป็นผู้นำการอพยพมาสร้างเมืองใหม่นี้ เลยเรียกเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่ว่า “เมืองปาย” และเรียกชื่อแม่น้ำที่ไหลผ่านตามชื่อเมืองว่า “แม่น้ำปาย” จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ส่วนข้อสันนิฐานสุดท้ายคือมาจากชื่อแม่น้ำซึ่งมีการเปลี่ยนทิศทางของกระแสน้ำเรื่อยมาว่า “แม่น้ำป้าย” (คำว่า “ป้าย” ในภาษาไทยใหญ่แปลว่าถอยร่น) ต่อมาจึงเรียกเพี้ยนเป็น “ปาย”
ในรัชสมัยของพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ให้ “พะก่ากั่นนะ” มาเป็นเจ้าฟ้าเมืองปายและมีผู้ครองเมืองปายสืบต่อมาอีกคนหนึ่งคือ “ขุนส่างเนิง” จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2455 ตรงกับ ร.ศ.129 “เมืองปาย”ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอจนถึงปัจจุบัน
อำเภอปาย ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอนระยะทาง 111 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1095 มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,244.70 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
การคมนาคมทางบก
ถนนสายหลักในการเดินทางเข้า-ออก อำเภอปาย ได้แก่
สถานีขนส่งอำเภอปาย มีจำนวน 1 แห่ง มีบริษัทเอกชนให้บริการ จำนวน 1 ราย ได้แก่ บริษัทเปรมประชาขนส่ง จำกัด โดยใช้รถเมล์ธรรมดา และ รถตู้บริการร่วม
สถานีบริการน้ำมัน มี 2 แห่ง ได้แก่ ปั๊มน้ำมัน ปตท. และปั๊มน้ำมันพีที
การนับถือศาสนา
มีการนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 81 อีกร้อยละ 21 เป็นการนับถือศาสนาอื่น ๆ เช่น อิสลาม คริสต์ นับถือผี ฯลฯ มีสถาบัน/องค์กรทางศาสนา ได้แก่ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา จำนวน 27 แห่ง ที่พักสงฆ์ จำนวน 12 แห่ง โบสถ์คริสต์ จำนวน 20 แห่ง และมัสยิด จำนวน 1 แห่ง
การศึกษา
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 จำนวน 33 แห่ง เป็นโรงเรียนประถมศึกษา 23 แห่ง โรงเรียนขยายโอกาส 7 แห่ง และโรงเรียนสาขา 3 แห่ง และมีโรงเรียนเอกชนในพื้นที่ 1 แห่ง
โรงเรียนมัธยมศึกษา มี 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนปายวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 34 (เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน) และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 1 แห่ง สังกัดกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 336
อื่น ๆ เช่น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประจำอำเภอ 1 แห่ง ห้องสมุดโรงเรียนปายวิทยาคาร 1 แห่ง เป็นต้น
การสาธารณสุข
มีสถานบริการสาธารณสุขที่เป็นโรงพยาบาลของรัฐ 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลปาย เป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 11 แห่ง สถานบริการสาธารณสุขชุมชน (สสช.) 8 แห่ง หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง 1 แห่ง และคลินิก 4 แห่ง
การประกอบอาชีพ
การประกอบอาชีพของประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอปาย ร้อยละ 81 เป็นภาคเกษตรกรรมอีกร้อยละ ๒๑ รับราชการ พนักงานบริษัท เอกชน ฯลฯ
การเกษตรกรรม
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา ทำไร่ ประมาณร้อยละ 88.5 แต่มีพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตรเพียงร้อยละ 1.6 ของพื้นที่อำเภอ หรือเพียง 5.8 ไร่ต่อครอบครัวเท่านั้น การขยายพื้นที่ในการเกษตรเป็นไปได้น้อยมากเนื่องจากเป็นพื้นที่ป่า พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าว กระเทียม ถั่วเหลือง ข้าวสาลี
การเขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 7 ตำบล 62 หมู่บ้าน ดังนี้
ตำบล | เวียงใต้ | เวียงเหนือ | แม่นาเติง | แม่ฮี้ | ทุ่งยาว | เมืองแปง | โป่งสา |
---|---|---|---|---|---|---|---|
หมู่ที่ | |||||||
1 | เมืองพร้าว | โป่ง | แม่นาเติงนอก | แม่เย็น | ทุ่งโป่ง | เมืองแปง | โป่งสา |
2 | เจ้าหม้อ | ใหม่ | แม่นาเติงใน | ทรายขาว | ทุ่งยาวเหนือ | ใหม่ดอนตัน | ห้วยไร่ |
3 | ป่าขาม | ตาลเจ็ดต้น | ม่วงสร้อย | ท่าปาย | ทุ่งยาวใต้ | ห้วยฮะ | ห้วยเดื่อ |
4 | เมืองแพร่ | เมืองน้อย | หมอแปง | แม่ปิง | สบแพม | สบสา | แม่เหมืองหลวง |
5 | น้ำฮู | โฮ่ง | แม่ของ | แม่ฮี้ | แพมกลาง | แกงหอม | ขุนสาใน |
6 | ห้วยปู | ห้วยหก | นาจลอง | ห้วยแก้ว | แพมบก | ผาสำราญ | โป่งทาก |
7 | ใหม่สหสัมพันธ์ | หัวแม่เมือง | ปางแปก | แม่อีแลบ | ห้วยหมี | ปางตอง | |
8 | แสงทองเวียงใต้ | ศรีดอนชัย | แม่นะ | ปางตอง | ห้วยหมี | ||
9 | กิ่วหน่อ | ผีลู | ตีนธาตุ | ||||
10 | ห้วยเฮี๊ยะ | ไทรงาม | ร้องแหย่ง | ||||
11 | นาจลองใหม่ | กุงแกง | |||||
12 | มโนรา |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำแนกเป็น
หน่วยงานราชการ/หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ/หน่วยงานสำคัญในพื้นที่
หมายเหตุ ภาพแผนที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ กองแผนและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
นโยบายเว็บไซต์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของจังหวัดแม่ฮ่องสอน | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน | การปฏิเสธความรับผิด
© 2561 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สงวนสิทธิ์ทุกประการ