- รายละเอียด
- หมวด: ข้อมูลจังหวัด

ไฟฟ้า
ไฟฟ้า
จังหวัดแม่ฮ่องสอน รับกระแสไฟฟ้ามาจากระบบสายส่ง 115 KV ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จากสถานีไฟฟ้าจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านอำเภอปาย อำเภอปางมะผ้า เข้าสู่ที่สถานีควบคุมการจ่ายไฟฟ้า สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดแม่ฮ่องสอน นำจ่ายด้วยระบบ 22KV ไปในพื้นที่ทั้ง 7 อำเภอ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ใช้กระแสไฟฟ้าจะระบบสายส่ง 115 KV ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นหลัก จ่ายไฟฟ้าออกเป็นวงจรย่อยๆ มีอุปกรณ์ป้องกันและตัดตอนในแต่ละวงจร รวม 10 ชุด หากมีการขัดข้องในแต่ละวงจร วงจรไฟฟ้าที่เหลือจะยังมีไฟฟ้าใช้อยู่ นอกจากนี้ จะมีแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าสำรองและร่วมขนานจ่ายไฟฟ้าให้กับประชาชน ได้แก่ โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กแม่ฮ่องสอน และโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กแม่สะงา และหากระบบสายส่ง 115 KV มีเหตุขัดข้อง ชำรุด หรือกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน จะมีโรงจักรดีเซลแม่ฮ่องสอน และโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ผาบ่อง เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าสำรอง แหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีดังนี้
ที่ | สังกัด/แหล่งผลิต | ที่ตั้ง | กำลังผลิต (กิโลวัตต์) | ประเภทการผลิต |
---|---|---|---|---|
โรงไฟฟ้าในสังกัดกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน | ||||
1 | โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กแม่สะงา (เขื่อนแม่สะงา) | ต.หมอกจำแป่ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน | 12,000 | พลังน้ำ |
2 | โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดแม่ฮ่องสอน (เขื่อนผาบ่อง) | ต.ผาบ่อง อ.เมืองแม่ฮ่อสอน | 850 | พลังน้ำ |
3 | โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กแม่สะเรียง (เขื่อนแม่สะเรียง) | อ.แม่สะเรียง | 1,250 | พลังน้ำ |
โรงไฟฟ้าในสังกัดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย | ||||
4 | โรงจักรดีเซลแม่ฮ่องสอน | ต.ผาบ่อง อ.เมืองแม่ฮ่อสอน | 5,400 | น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง |
5 | โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ผาบ่อง | ต.ผาบ่อง อ.เมืองแม่ฮ่อสอน | 500 | พลังงานแสงอาทิตย์ |
โรงไฟฟ้าในสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค | ||||
6 | โรงจักรดีเซลแม่สะเรียง | 4,000 | น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง | |
7 | เขื่อนแม่ปาย | 2,300 | พลังน้ำ | |
รับซื้อจากบริษัทเอกชน | ||||
8 | บริษัท แม่สะเรียง โซลา จำกัด | ต.บ้านกาศ อ.แม่สะเรียง | 3,000 | พลังงานแสงอาทิตย์ |
9 | บริษัท นภัสโซลาร์ จำกัด | ต.บ้านกาศ อ.แม่สะเรียง | 1,000 | พลังงานแสงอาทิตย์ |
รวมทั้งสิ้น | 30,300 |
ปัจจุบัน (เดือนธันวาคม 2562) ยังมีหมู่บ้านที่ยังไม่มีไฟใช้ 116 หมู่บ้านหลัก 93 หย่อมบ้าน ซึ่งปัญหาของการขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้กับหมู่บ้านที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้มีอุปสรรคด้านต่าง ๆ เช่น หมู่บ้านตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่า หากไม่ได้รับการอนุญาตใช้พื้นที่จะไม่สามารถเข้าไปดำเนินการได้ สภาพเส้นทางคมนาคมไม่สะดวก ทุรกันดารมาก สภาพเส้นทางคมนาคมมีสภาพที่คับแคบ ขึ้นภูเขาสูงชัน ที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ไกล จำนวนประชากรในหมู่บ้านมีไม่มาก ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูง เป็นต้น
ที่ | อำเภอ | จำนวนหมู่บ้านทั้งหมด * | จำนวนหมู่บ้านที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ** | |
---|---|---|---|---|
หมู่บ้านหลัก | หย่อมบ้าน | |||
จังหวัดแม่ฮ่องสอน | 415 | 116 | 93 | |
1 | เมืองแม่ฮ่องสอน | 68 | 13 | 26 |
2 | ขุนยวม | 43 | - | 8 |
3 | ปาย | 62 | 9 | 9 |
4 | แม่สะเรียง | 77 | 29 | 7 |
5 | แม่ลาน้อย | 69 | 22 | 19 |
6 | สบเมย | 58 | 26 | 24 |
7 | ปางมะผ้า | 38 | 17 | 10 |
ที่มา : * ที่ทำการปกครองจังหวัด, ** การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดแม่ฮ่องสอน