หมวด: ข้อมูลจังหวัด

แผนที่จังหวัด
โดยการสนับสนุนจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ กองแผนและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
โดยการสนับสนุนจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ กองแผนและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี 2560 มีจำนวนทั้งสิ้น 493 รายการ แบ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร 139 รายการ ผ้าและเครื่องแต่งกาย 178 รายการ ของใช้ 85 รายการ เครื่องดื่ม 31 รายการ และสมุนไพรฯ 60 รายการ และในการจัดระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (1 – 5 ดาว) ปี พ.ศ. 2559 มีผลิตภัณฑ์ OTOP ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ระดับ 1-5 ดาว จำนวน 144 รายการ ดังนี้
หมายเหตุ ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี พ.ศ. 2560
จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีโรงพยาบาล 7 แห่ง จำนวนเตียงรวมทั้งสิ้น 420 เตียง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล 72 แห่ง สถานบริการสาธารณสุขชุมชน 63 แห่ง หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง 10 แห่ง มาลาเรียคลินิก 15 แห่ง ศูนย์มาลาเรียชุมชน 21 แห่ง และสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกรมการแพทย์ 1 แห่ง
สถานบริการสาธารณสุขในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีสถานบริการในระดับ PRIMARY CARE และ SECONDARY CARE จำแนกออกเป็น ดังนี้
อำเภอ | โรงพยาบาล | รพ.สต. (แห่ง) | สสช. (แห่ง) | นคม. (แห่ง) | มาลาเรียคลินิก (แห่ง) | ศูนย์มาลาเรียชุมชน (แห่ง) | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จำนวน (แห่ง) | จำนวน (เตียง) | ระดับตาม Service Plan | ||||||
เมืองแม่ฮ่องสอน | 1 | 150 | S | 16 | 9 | 2 | 4 | 3 |
แม่สะเรียง | 1 | 90 | M2 | 11 | 13 | 2 | 2 | 10 |
ปาย | 1 | 60 | F1 | 11 | 8 | 1 | 1 | - |
ขุนยวม | 1 | 30 | F2 | 10 | 6 | 1 | 2 | - |
แม่ลาน้อย | 1 | 30 | F2 | 11 | 11 | 1 | 2 | - |
สบเมย | 1 | 30 | F2 | 8 | 11 | 2 | 3 | 8 |
ปางมะผ้า | 1 | 30 | F2 | 5 | 5 | 1 | 1 | - |
รวม | 7 | 420 | - | 72 | 63 | 10 | 15 | 21 |
ในปี พ.ศ. 2559 มีบุคลากรสายวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวนแพทย์ จำนวน 64 คน ทันตแพทย์ จำนวน 24 คน เภสัชกร จำนวน 32 คน พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 498 คน ทั้งนี้ ภาพรวมสัดส่วนบุคลากรสายวิชาชีพต่อประชากรของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ต้องรับผิดชอบประชากรในสัดส่วนที่สูงกว่าสัดส่วนต่อประชากรระดับประเทศที่กำหนด
สาขาวิชาชีพ | จำนวนผู้ปฏิบัติงานจริง (คน) | สัดส่วนต่อประชากรระดับจังหวัด | สัดส่วนต่อประชากรระดับประเทศ |
---|---|---|---|
แพทย์ | 64 | 1 : 4,284 | 1 : 2,533 |
ทันตแพทย์ | 24 | 1 : 11,425 | 1 : 10,676 |
เภสัชกร | 32 | 1 : 8,568 | 1 : 6,388 |
พยาบาลวิชาชีพ | 498 | 1 : 551 | 1 : 506 |
หมายเหตุ ข้อมูล ณ ปี พ.ศ. 2560
จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มียุทธศาสตร์ที่ตั้งสำคัญในการเชื่อมต่อกับประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นแหล่งวัตถุดิบหลักอาเซียน คือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศที่สามซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก คือ อินเดีย และจีน ภูมิศาสตร์ที่ตั้งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ใกล้กับกรุงเนปิดอร์ เมืองหลวงของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ด้วยระยะทางที่สั้นที่สุดจากประเทศไทยประมาณ 220 กิโลเมตร รวมถึงสามารถเป็นประตูตะวันตกเข้าสู่เมืองเศรษฐกิจหลักของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาที่เมืองลอยก่อ เมืองมัณฑะเลย์ เมืองตองยี เมืองตองอู และเมืองทันเว เพื่อเชื่อมโยงกับทางเรือเมืองทันเว เป็นประตูทางออกทะเลของจังหวัดภาคเหนือของไทย 17 จังหวัด ซึ่งจะเป็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนและภาคเหนือ
ในการเข้าสู่ตลาดโลก และเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับตลาดใหม่ คือ บังคลาเทศ ปากีสถาน และอินเดีย รวมทั้ง เป็นเส้นทางก้าวไกลไปสู่ตะวันออกกลางและยุโรปได้ดังเช่นเส้นทางสายไหมในอดีต การที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนยังไม่มีด่านถาวร จะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการผลักดันการค้าชายแดนเข้าสู่ระบบการค้าสากล โดยเฉพาะการค้าในระบบอาเซียน ระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ปัจจุบันจังหวัดแม่ฮ่องสอนยังไม่มีด่านถาวร มีเพียงมีจุดผ่อนปรนทางการค้าที่มีการขนส่งสินค้ากันไปมาระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จำนวน 5 แห่ง ที่กฎหมายอนุมัติให้มีการค้าสินค้า ได้แก่
ซึ่งจังหวัดแม่ฮ่องสอนกำหนดให้สามารถแลกเปลี่ยนสินค้าเล็กๆน้อยๆ ที่จำเป็นในการอุปโภค-บริโภคในชีวิตประจำวัน และเป็นสินค้าไม่ต้องห้ามตามกฎหมายอื่นใดได้ภายในบริเวณตลาดนัดเพื่อการค้าห่างจาก แนวพรมแดนประมาณ 2 กิโลเมตร ระหว่างเวลาตั้งแต่ 08.00-16.0 น. (เวลาประเทศไทย) ของทุกวัน
ประชากรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
ศาสนิกชนส่วนใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน คือประมาณร้อยละ 78.19 นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือ ศาสนาคริสต์ ประมาณร้อยละ 25.53 นับถือศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 0.25 และที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 0.02 นับถือศาสนาอื่นๆและผีตามความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์
ชาวไทยใหญ่ จะมีภาษาพูดเป็นของตนเองเรียกว่า "กำไต" เวลาพูดภาษาไตเรียกว่า"อุบไต" ส่วนภาษาเขียนตัวอักษรไทยเรียกว่า "ลีกไต" มีใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณลักษณะของตัวอักษรกลมคล้ายตัวอักษรมอญและพม่า
ชาวกะเหรี่ยง,ชาวจีนฮ่อ มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง
ชนเผ่า ลาหู่ ลีซู ลัวะหรือเลอเวื๊อะ ในปัจจุบันมีภาษาพูด ส่วนภาษาเขียนนำอักษรอังกฤษมาใช้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 (เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน)
รับผิดชอบโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 8 แห่ง ได้แก่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 รับผิดชอบพื้นที่ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอปาย อำเภอปางมะผ้า และอำเภอขุนยวม มีโรงเรียนในสังกัด/กำกับ จำนวนทั้งสิ้น 133 โรงเรียน 6 สาขา แบ่งเป็นโรงเรียนหลัก 129 โรงเรียน โรงเรียนสาขา 6 โรงเรียน และโรงเรียนเอกชน 4 โรงเรียน จัดการเรียนการสอนระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับประถมศึกษา จำนวน 107 โรงเรียน และระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 28 โรงเรียน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2 รับผิดชอบพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง อำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอสบเมย มีโรงเรียนในสังกัด/กำกับ จำนวนทั้งสิ้น จำนวน 174 โรงเรียน 10 สาขา แบ่งเป็นโรงเรียนหลัก 162 โรงเรียน โรงเรียนสาขา 10 โรงเรียน และโรงเรียนเอกชน 2 โรงเรียน จัดการเรียนการสอนระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับประถมศึกษา จำนวน 107 โรงเรียน ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 37 โรงเรียน และระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสังวาลย์วิทยา ตำบลแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง
จำนวนทั้งสิ้น 10 โรงเรียน ดังนี้
มี 5 แห่ง ได้แก่
กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 336
รับผิดชอบพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอขุนยวม อำเภอปางมะผ้า และอำเภอปาย มีโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่
กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 337
รับผิดชอบพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง อำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอสบเมย มีโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 9 แห่ง ได้แก่
จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน วิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียง และวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน
จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้บริการศึกษาในรูปแบบการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่องประเภททางไกล การศึกษาผู้ใหญ่สายอาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.ทางไกล) ประกาศนียบัตรอาชีพ และการศึกษาเพื่อชุมชนบนพื้นที่สูง
หมายเหตุ ข้อมูล ณ ปี พ.ศ. 2560
นโยบายเว็บไซต์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของจังหวัดแม่ฮ่องสอน | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน | การปฏิเสธความรับผิด
© 2561 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สงวนสิทธิ์ทุกประการ